วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

นิตยสารออนไลน์ หรือ e-Magazine


                                                                                                                                       เรียบเรียงโดย น.ส.จิราภรณ์  พุ่มพันธ์วงษ์
                                                                                                                                                                             วันที่ 20 เมษายน 2557

นิตยสารออนไลน์ หรือ e-Magazine
นิตยสารออนไลน์ หรือ e-Magazine คือ หนังสือที่จัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  โดยการเปิดอ่านจากอุปกรณ์ไอที เช่น Computer, Notebook, Laptop, Smart phone เป็นต้น

ลักษณะของ e-Magazine
e-Magazine เป็นการนำเสนอข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของนิตยสารที่ใช้สื่อประสมชนิดต่างๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ โดยรูปแบบของเนื้อหาต่างๆ จะมีลักษณะที่เหมือนกับนิตยสารที่พิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ความน่าสนใจความทันสมัยจะมีมากกว่านิตยสารที่พิมพ์ด้วยกระดาษ ซึ่งในประเทศไทยมี e-Magazine ที่เป็นที่รู้จักคือ
1.นิตยสารสุดสัปดาห์ 

ที่มา : https://itunes.apple.com/us/app/sudsapda-e-magazine/id681157573?mt=8

2.นิตยสาร อสท.
                              ที่มา : http://www.i3.in.th/gallery/content/12/5559_emag5.png

ประโยชน์ของ e-Magazine
เนื่องจากในยุคปัจจุบันมนุษย์นิยมใช้สื่อเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานที่มีไลฟ์สไตล์เป็นของตนเอง e-Magazine จึงเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่คนกลุ่มนี้นิยมใช้ โดยประโยชน์จากการใช้ e-Magazine มีดังนี้
1.ด้านองค์กรธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต e-Magazine สามารถลดต้นทุนในการผลิต ประหยัดเวลาในการผลิตได้มาก  รวมทั้งช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.ด้านผู้ใช้ e-Magazine จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกต่อการใช้งาน เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และได้ข้อมูลที่ update

ข้อดี  e-Magazine
1.ลดต้นทุนในการผลิตขององค์กร
2.ประหยัดเวลาในการจัดทำ เพราะใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าการผลิตนิตยสารแบบเดิม
3.ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาจากทั่วทุกมุมโลก
4.ผู้ใช้สะดวกในการใช้งานและพกพา
5.ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมากในการจัดเก็บเหมือนกับนิตยสารรูปแบบเก่า
6.ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยขององค์กรต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรของโลก

ข้อจำกัด e-Magazine
1.ผู้ใช้ต้องมีความรู้และมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  จึงสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
2.ความนิยมในการใช้จะจำกัดเฉพาะกลุ่ม เช่น วัยรุ่น วัยทำงาน ที่นิยมใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

 สร้าง e-magazine ด้วยตนเอง

                                   
                                   ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=1Cu5FuAdOVY

 แหล่งอ้างอิงข้อมูล

การประยุกต์ใช้ e-Magazine
ด้านการเรียนการสอน
เนื่องจาก e-Magazine เป็นนิตยสารในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา สะดวกรวดเร็ว มีข้อมูลที่ทันสมัย และสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างหลากหลาย e-Magazine จึงเป็นแหล่งการเรียยนรู้หนึ่งที่จะสร้างความน่าสนใจให้กับผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ ผู้สอนสามารถเลือกใช้สื่อประเภท e-Magazine มาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้  คือ
1.การมอบหมายภาระงาน  เช่น  ในรายวิชาภาษาไทย ผู้สอนมอบหมายภาระงานให้กับผู้เรียนไปศึกษาบทความที่ปรากฎใน นิตยสาร อสท. ที่เป็น e-Magazine ด้วยตนเองแล้วนำมาสรุปเพื่อพูดแสดงความคิดเห็นหน้าชั้นเรียน  
2.การสร้าง e-Magazine เช่น ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้สอนสอนวิธีการสร้าง e-Magazine แล้วผู้เรียนสามารถสร้าง e-Magazine ได้ด้วยตนเองเพื่อจัดทำเป็นชิ้นงานนำเสนอในรายวิชาอื่นๆ

 แสดงความคิดเห็นต่อการอบรม
การอบรมมาตรฐานวิชาชีพครูหลักสูตรที่ 8 ในส่วนของว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.ชัชญาภา วัฒนธรรม ในครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ รับทราบ และสามารถสร้างนวัตกรรมในการเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้ได้สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย เข้ากับยุคแห่งการใช้เทคโลยีเป็นอย่างยิ่ง เหมาะต่อการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้มากยิ่งขึ้น

กาพย์ยานี 11

                                                                                                                                              เรียบเรียงโดย น.ส.จิราภรณ์  พุ่มพันธ์วงษ์
                                                                                                                                                                            วันที่ 19 เมษายน 2557


ที่มา : http://lms.taphanhin.ac.th/file.php/1/T063.JPG


ขั้นนำ (Introduction)

มัสมั่นแกงแก้วตา            หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง           แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
ที่มา : http://thai.satitpatumwan.ac.th/other%20know.htm

          คำประพันธ์ที่กล่าวมานี้มาจากวรรณคดีเรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีความไพเราะงดงามและดีเด่นทางด้านวรรณศิลป์เป็นอย่างยิ่ง โดยความงดงามเหล่านี้มาจากการแต่งคำประพันธ์ที่เรียกว่า กาพย์ยานี 11 
          วันนี้เราจะมาเรียนรู้รูปแบบของฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11   พร้อมตัวอย่างที่ถูกต้องและนักเรียนต้องสามารถแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 ได้จำนวน 2 บท 

ภาระงาน (Task)
               1.  ให้นักเรียนทุกคนศึกษาค้นคว้าเรื่องกาพย์ยานี 11 และสรุปเนื้อหาเพื่อนำเสนอในรูปแบบการเขียน Mine Map ตามหัวข้อต่อไปนี้
                          -  คำอธิบายรูปแบบฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11
                          -  แผนผังการเขียนคำประพันธ์ของกาพย์ยานี 11 
                         -  ตัวอย่างคำประพันธ์ที่ถูกต้อง จำนวน  2 ตัวอย่าง
              2.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน  เพื่อแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 จำนวน 2 บท  ตามหัวข้อที่นักเรียนสนใจ  เช่น  คุณธรรมประจำใจ  /  วัฒนธรรมไทย  /  สถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น  เป็นต้น  ตามรูปแบบฉันทลักษณ์ที่ได้ศึกษามา โดยฝึกปฏิบัติภายในห้องเรียนตามระยะเวลาที่ครูกำหนด  และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

กระบวนการสอน (Learning Process)
1.  ให้นักเรียนทุกคนศึกษาเรื่อง กาพย์ยานี 11 จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
2.  ครูให้คำปรึกษา แนะนำ ถึงความถูกต้องของเนื้อหาตามหัวข้อที่ครูกำหนด
3.  นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 จำนวน 2 บท ตามหัวข้อที่สนใจและตามระยะเวลาที่ครูกำหนด
4.   นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  และร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น 
ในประเด็นต่อไปนี้
1)      ความถูกต้องของลักษณะคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11
2)      เนื้อหาของคำประพันธ์ถูกต้องตรงประเด็นตามหัวข้อที่เลือก
3)      ประโยชน์และข้อคิดที่ได้จากการผลงานการแต่งคำประพันธ์

แหล่งเรียนรู้  (Resource)




 ประเมินผล (Evaluation)

ภาระงานที่ 1
เกณฑ์ประเมินการเขียน Mine Map
ประเด็น
ในการประเมิน
ดีมาก (3)
ดี (2)
พอใช้ (1)
ควรปรับปรุง (0)
ความถูกต้อง
ในการเขียน
นักเรียนสามารถ
เขียน Mind Map
ได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วนโดย
เขียนด้วยตนเอง
ทั้งหมด
นักเรียนสามารถ
เขียน Mind Map
ได้ แต่ต้องรับฟัง
คำแนะนำจากครู
บางส่วน
นักเรียน
สามารถเขียน
Mind Map ได้
แต่ต้องรับฟัง
คำแนะนำจาก
ครูเป็นส่วนใหญ่
นักเรียนไม่
สามารถเขียน
Mind Map ได้
ความสะอาดเรียบร้อย
นักเรียนสามารถ
เขียน Mind Map
ได้อย่างสะอาด
เรียบร้อยโดยไม่มี
จุดผิดพลาด
นักเรียนสามารถ
เขียน Mind Map
ได้อย่างสะอาด
เรียบร้อยโดยมีจุด
ผิดพลาด 1-2
จุด
นักเรียน
สามารถเขียน
Mind Mapได้
อย่างสะอาด
เรียบร้อยโดยมี
จุดผิดพลาด
3-4 จุด
นักเรียนไม่
สามารถเขียน
Mind Map ได้
อย่างสะอาด
เรียบร้อย
การตรงต่อเวลา
ส่งผลงาน
ครบถ้วน ตรง
ตามเวลาที่
กำหนด
ส่งผลงาน
ครบถ้วน แต่ช้า
กว่ากำหนด 1 วัน
ส่งผลงาน
ครบถ้วน แต่ช้า
กว่ากำหนด 2
วัน
ส่งผลงานครบถ้วน
แต่ช้ากว่ากำหนด
3 วันขึ้นไป
  ที่มา : http://www.student.chula.ac.th/~52437616/PDF%20file/Evaluation/rubric1.pdf
   เกณฑ์การให้คะแนน        ให้คะแนนระดับคุณภาพการเขียน Mine Map
ระดับคุณภาพ
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
คะแนน
7-9
4-6
1-3
0

ภาระงานที่ 2
เกณฑ์ประเมินการแต่งคำประพันธ์ กาพย์ยานี 11
ประเด็นการประเมิน
ดี (3)
พอใช้ (2)
ปรับปรุง (1)
จำนวนบทครบตามที่กำหนด
นักเรียนสามารถแต่งคำประพันธ์ได้ครบถ้วนตามจำนวนบทที่ครูกำหนด
นักเรียนแต่งคำประพันธ์ได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนบทที่ครูกำหนด
นักเรียนแต่งคำประพันธ์ได้ไม่ถึง 1 บทตามที่ครูกำหนด
สัมผัสถูกต้อง
นักเรียนสามารถใช้คำสัมผัสได้ถูกต้องตามรูปแบบฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11
นักเรียนใช้คำสัมผัสผิดไป 1 จุด
นักเรียนใช้คำสัมผัสผิดไป 2 จุด
ความสอดคล้องของเนื้อหากับหัวข้อที่แต่ง
เนื้อหาที่แต่งมีความสอดคล้องกับหัวข้อตรงประเด็นและชัดเจน
เนื้อหาที่แต่งมีความสอดคล้องกับหัวข้อและตรงประเด็นบางส่วน
เนื้อหาที่แต่งไม่มีความสอดคล้องกับหัวข้อ
  เกณฑ์การให้คะแนน        ให้คะแนนระดับคุณภาพการแต่งกาพย์ยานี  11
ระดับคุณภาพ
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
คะแนน
7-9
4-6
1-3


ภาระงานที่ 2
แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
ชื่อกลุ่ม
ทำงาน
อย่างมีระบบ
มีความ
รับผิดชอบ
แสดง
ความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
ตรงต่อเวลา
รวม
คะแนน
5
5
5
5
20
















  เกณฑ์การให้คะแนน        ให้คะแนนระดับคุณภาพแบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
ระดับคุณภาพ
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
คะแนน
18-20
15-17
10-14
0-9

สรุป (Conclusion)

          จากการศึกษาเรื่องกาพย์ยานี 11 นักเรียนจะได้รับทราบถึงลักษณะของรูปแบบฉันทลักษณ์และตัวอย่างที่ถูกต้องของกาพย์ยานี 11  สามารถเขียนสรุปออกมาเป็น Mine Map ได้ด้วยตนเอง  และสามารถปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มได้อย่างมีระบบ จนสามารถนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
ที่มา : http://www.itrmu.net/web/10rs70/contents/images/atoon24.jpg